สอน. จับมือ 3 องค์กรชั้นนำ MOU เดินหน้าพัฒนาเทคโนโลยีไร่อ้อยมุ่งสู่ SmartFarm

สอน. จับมือ 3 องค์กรชั้นนำ MOU เดินหน้าพัฒนาเทคโนโลยีไร่อ้อย ยกระดับชาวไร่อ้อย สู่การพัฒนาอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายไทยในระยะยาว

สอน. จับมือ 3 องค์กรชั้นนำ MOU เดินหน้าพัฒนาเทคโนโลยีไร่อ้อย ยกระดับชาวไร่อ้อย สู่การพัฒนาอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายไทยในระยะยาว

ในภาพอาจจะมี 7 คน, คนที่ยิ้ม, ผู้คนกำลังยืน และชุดสูท
วันที่ 25 เมษายน 2562 สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.) กระทรวงอุตสาหกรรม จับมือ 3 องค์กรชั้นนำ ได้แก่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, บริษัทเกษตรไทย อินเตอร์เนชั่นแนล ชูการ์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และสมาคมชาวไร่อ้อยเขต ๑๑ นครสวรรค์ ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) การพัฒนาเทคโนโลยีการจัดการในไร่อ้อย การพัฒนาทางด้านวิชาการ การพัฒนาด้านพันธุ์อ้อย และพัฒนาบุคลากร ณ ห้องแซฟไฟร์ ชั้น 2 โรงแรมเซ็นจูรี่ พาร์ค กรุงเทพมหานคร

ในภาพอาจจะมี 8 คน, ผู้คนกำลังยืน และสถานที่ในร่ม

นายพสุ โลหารชุน ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยภายหลังพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือว่า กระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะเป็นหน่วยงานหลักที่กำกับดูแลระบบอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายของไทย มั่นใจว่าความร่วมมือในครั้งนี้ จะเป็นอีกหนึ่งก้าวสำคัญในการพัฒนาและยกระดับอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายของประเทศ ทั้งในด้านการพัฒนาเทคโนโลยีการจัดการในไร่อ้อย การพัฒนาพันธุ์อ้อย การยกระดับงานวิจัยและพัฒนานวัตกรรมต่าง ๆ ให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจทั้งในและต่างประเทศ ควบคู่กับการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรชาวไร่อ้อยปรับเปลี่ยนจากการเกษตรแบบดั้งเดิมไปสู่การเกษตรสมัยใหม่ที่เน้นการบริหารจัดการและเทคโนโลยี (Smart Farming) รวมถึงการสร้างเครือข่ายและพัฒนาบุคลากรให้สอดคล้องกับความต้องการของภาคธุรกิจ

ในภาพอาจจะมี 1 คน, กำลังยืน

ซึ่งบันทึกข้อตกลงในครั้งนี้ หน่วยงานทั้ง 4 จะร่วมกันดำเนินงาน เป็นระยะเวลา 5 ปี โดยสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย จะสนับสนุนงบประมาณดำเนินงานภายใต้โครงการการเพิ่มศักยภาพการผลิตอ้อยมุ่งสู่ Smart Farming, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ จะสนับสนุนด้านบุคลากร เครื่องมือ อุปกรณ์ และห้องปฏิบัติการ, บริษัท เกษตรไทย อินเตอร์เนชั่นแนล ชูการ์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) จะสนับสนุนด้านสถานที่ ข้อมูล การนำไปทดสอบใช้ และสมาคมชาวไร่อ้อยเขต ๑๑ นครสวรรค์ จะสนับสนุนด้านข้อมูล และร่วมกันประชาสัมพันธ์ไปยังเกษตรกรชาวไร่อ้อยทั่วประเทศ เพื่อให้ดำเนินงานภายใต้กรอบความร่วมมือดังกล่าวบรรลุตามเป้าประสงค์

ในภาพอาจจะมี 1 คน, กำลังยิ้ม, กำลังยืน และดอกไม้
นางวรวรรณ ชิตอรุณ เลขาธิการคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย กล่าวเพิ่มเติมว่า สอน. ได้เริ่มสนับสนุนการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาช่วยเกษตรกรชาวไร่อ้อยในการบริหารจัดการไร่ โดยปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 ได้ดำเนินโครงการการเพิ่มศักยภาพการผลิตอ้อยมุ่งสู่ Smart Farming ซึ่งได้พัฒนาระบบสารสนเทศรูปแบบใหม่ เพื่อให้เกษตรกรสามารถบันทึกข้อมูลไปพร้อมกับการเห็นพื้นที่ไร่ของตนเองผ่านอากาศยานไร้คนขับ (Drone) สำหรับแก้ปัญหาการบริหารจัดการไร่อ้อยที่มีพื้นที่แปลงขนาดใหญ่ ตลอดจนมีการสาธิตการนำเครื่องจักรกลทางการเกษตรสมัยใหม่มาใช้ในการเตรียมและปลูกอ้อย ตั้งแต่การเพาะปลูกจนถึงการจัดการไร่หลังการเก็บเกี่ยวผลผลิต ผ่านเว็บแอพพลิเคชั่น https://thaismartfarming.com และเพื่อให้เกิดการพัฒนาโครงการอย่างต่อเนื่อง ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ได้ขยายผลการดำเนินงานไปยังกลุ่มเกษตรกรชาวไร่อ้อยในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ จำนวนไม่น้อยกว่า 30 ราย ครอบคลุมพื้นที่ปลูกอ้อยกว่า 1,000 ไร่ ได้ใช้งานระบบสารสนเทศในการบริหารจัดการไร่อ้อยอย่างมีประสิทธิภาพผ่านระบบ Web Application และสามารถต้นแบบให้เกษตรกรชาวไร่อ้อยในการดำเนินการบริหารจัดการอ้อยแปลงใหญ่ตามแนวคิด Smart Farming ตามนโยบาย Thailand 4.0 ของรัฐบาล

ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ

ในภาพอาจจะมี 1 คน

ในภาพอาจจะมี 1 คน, กำลังยืน
นอกจากนั้นแล้ว กระทรวงอุตสาหกรรม โดยสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย ได้เสนอโครงการส่งเสริมสินเชื่อเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอ้อยอย่างครบวงจร ระยะที่ 2 วงเงินสินเชื่อปีละ 2,000 ล้านบาท ระยะเวลา 3 ปี รวมวงเงิน 6,000 ล้านบาท เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่อ้อยให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำ นำไปซื้อรถตัดอ้อย, รถคีบอ้อย, รถตัดอ้อยแร๊พเตอร์, เครื่องสางใบอ้อย, เครื่องอัดใบอ้อย และเพื่อพัฒนาแหล่งน้ำในไร่อ้อย ซึ่งจะเป็นแนวทางหนึ่งในการช่วยเพิ่มผลิตภาพการผลิต และคุณภาพผลผลิตอ้อย อีกทั้งสามารถช่วยลดต้นทุนการผลิตได้ในระยะยาว ส่งผลให้เกษตรกรชาวไร่อ้อยมีรายได้เพิ่มขึ้น เป็นการช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรผู้ปลูกอ้อย และเพิ่มขีดความสามารถให้อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายของไทยสามารถแข่งขันได้ทั้งในตลาดอาเซียนและตลาดโลกได้อย่างยั่งยืน

 

 

 

 

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.


*