STARTUP THAILAND 2018

สตาร์ทอัพไทย เติบโตติดจรวด ทะยานสู่ระดับเอเชีย
กระทรวงวิทย์ฯ ดันสร้างนักรบเศรษฐกิจใหม่ในงาน STARTUP THAILAND 2018

10 พฤษภาคม 2561 / กรุงเทพฯ –กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ พร้อมต้อนรับนักลงทุนจากทั่วโลกดึงเงินลงทุนเข้าสู่ธุรกิจสตาร์ทอัพ ในงาน STARTUP THAILAND2018 ในวันที่ 17-20 พฤษภาคมศกนี้ ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ นับเป็นปีที่ 3 ที่กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ จัดงานมาอย่างต่อเนื่อง ธีมงานปีนี้คือ “โอกาสที่ไม่สิ้นสุดของทุกคน – ENDLESS OPPORTUNITIES” ซึ่งไฮไลท์ของงานจะเป็นการรวม 5 ความยิ่งใหญ่ที่สุด (BIGGEST) ใน”เอเชียตะวันออกเฉียงใต้” ของวงการสตาร์ทอัพมาไว้ที่นี่ ชี้เป็นโอกาสที่คนรุ่นใหม่ ไม่ควรพลาดด้วยประการทั้งปวง ที่จะไปสัมผัสกับความเป็นไปได้และโอกาสไม่สิ้นสุดของวงการสตาร์ทอัพไทย

ในภาพอาจจะมี 7 คน, ผู้คนกำลังยืน และ ชุดสูท

ในภาพอาจจะมี 5 คน, คนที่ยิ้ม, ผู้คนกำลังยืน, ชุดสูท และ สถานที่ในร่ม

ในภาพอาจจะมี 1 คน, กำลังยืน และ ข้อความ

ในภาพอาจจะมี 5 คน, คนที่ยิ้ม, ผู้คนกำลังยืน และ สถานที่ในร่ม

ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แถลงข่าวการจัดงาน STARTUP THAILAND 2018 ว่า “จากนโยบายรัฐบาลและวิสัยทัศน์ของนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่ต้องการพัฒนาวิสาหกิจเริ่มต้น (Startup) ให้เป็นนักรบเศรษฐกิจใหม่ (New Economic Warrior) โดยประกาศเป็นนโยบายเมื่อวันที่ 28 เมษายน 2559 ว่า เรากำลังปลูกต้นไม้ใหม่ ภายใต้ “Startup” ที่จะเป็นธุรกิจรุ่นใหม่ในอนาคต โดยเราจะต้องทำให้ต้นไม้เหล่านี้เจริญเติบโตและออกดอกออกผลให้ได้ภายใน 2 ปี “ซึ่งวันนี้ กระทรวงวิทย์ฯ ขอประกาศความสำเร็จในการสร้าง “สตาร์ทอัพ”นักรบทางเศรษฐกิจขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย”

ดร.สุวิทย์ฯ กล่าวต่อไปว่า “รัฐบาลให้ความสำคัญในการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยใหม่ 4 ประการ ได้แก่ “วิทย์แก้จน-วิทย์สร้างคน-วิทย์เสริมแกร่ง-วิทย์สู่ภูมิภาค”ผลสำเร็จ 2 ปีที่ผ่านมาของ STARTUP THAILANDสามารถตอบโจทย์นโยบายทั้ง 4 ประการนี้ โดยเฉพาะการสร้างนวัตกรรมใหม่ สร้างเทคโนโลยีใหม่ ที่ใช้ได้จริง นำไปสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมสาขาต่างๆ ของประเทศ และเกิดการสร้างงาน สร้างคน ที่เป็นคนรุ่นใหม่ เป็นกำลังขับเคลื่อนประเทศในยุคไทยแลนด์ 4.0 การดำเนินงานของ STARTUP THAILANDที่ผ่านมาเราประสบผลสำเร็จและมีชัยชนะเกิดสตาร์ทอัพรุ่นใหม่Excellence และสตาร์ทอัพดาวรุ่ง New Star รวมมากกว่า 30 ราย, เกิด UNICORN รายแรกของประเทศ, เกิดสตาร์ทอัพที่มีศักยภาพและดำเนินธุรกิจจริง1,500 ราย และยังมีธุรกิจสตาร์ทอัพอีก 8,500 ราย ที่ยังไม่ได้จดทะเบียนดำเนินธุรกิจรวมถึงก่อให้เกิดการจ้างงานใหม่มากกว่า 15,000 อัตรา ซึ่งบุคลากรเหล่านี้ถือเป็นคนรุ่นใหม่ที่จะกลายเป็นกำลังแรงงานที่มีทักษะทางเทคโนโลยีและทักษะด้านความเป็นผู้ประกอบการสูงเป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนาประเทศรวมทั้งดึงเม็ดเงินลงทุนในธุรกิจสตาร์ทอัพจากนักลงทุนภายในและต่างประเทศทั้งเอกชนและภาครัฐรวม 44,000 ล้านบาท

ในภาพอาจจะมี 4 คน, คนที่ยิ้ม, ผู้คนกำลังยืน

ในภาพอาจจะมี หนึ่งคนขึ้นไป

ในภาพอาจจะมี 1 คน, หน้าจอ และ สถานที่ในร่ม

ในภาพอาจจะมี 7 คน, คนที่ยิ้ม, ผู้คนกำลังยืน และ สถานที่ในร่ม

นอกจากนี้กระทรวงวิทย์ฯ ยังบ่มเพาะสตาร์ทอัพรายใหม่ โดยร่วมกับสถาบันการศึกษา 34 มหาวิทยาลัยแห่งผู้ประกอบการ(Entrepreneurial University) สร้างระบบนิเวศให้แก่นิสิต นักศึกษา มากกว่า 40,000 คน และขยายฐานการสร้างสตาร์ทอัพไปยังวิทยาลัยเทคโนโลยีอาชีวะทั้งภาครัฐและเอกชน รวม 886 แห่ง โดยเสริมทักษะของการเป็นผู้ประกอบการและความสามารถในการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาสร้างความเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจ ให้แก่นักเรียน นักศึกษา รวมประมาณ 100,000 คน ทั่วประเทศ

2 ปีของการสร้างนักรบเศรษฐกิจใหม่ก่อให้เกิดกระแสตื่นตัวเรื่องสตาร์ทอัพในประเทศเกิดภาพ THAILAND STARTUP UNIVERSE ที่เป็นความร่วมมือของภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคการศึกษา ภาคสังคม ภาคประชาชน ที่ขยายสู่วงกว้างและ เติบโตอย่างต่อเนื่องที่สำคัญกรุงเทพมหานคร ได้รับการยกให้เป็นเมืองที่ดีที่สุดสำหรับสตาร์ทอัพอันดับ 1 ในเอเชีย และเป็นอันดับ 7 ของโลก ทำให้เกิดพันธมิตร และเครือข่ายในต่างประเทศ มากกว่า 30 หน่วยงาน ใน 15 ประเทศได้แก่ ญี่ปุ่น สาธารณรัฐประชาชนจีน เกาหลีใต้ อิสราเอล อินเดีย สิงคโปร์ มาเลเซีย ไต้หวัน โปรตุเกส สเปน ฝรั่งเศส เบลเยียม ออสเตรีย สหราชอาณาจักร (UK) และสหรัฐอเมริกา อีกทั้งยังสามารถขจัดทุกปัญหาและอุปสรรค ไม่ว่าจะเป็นการแก้ปัญหาทางด้านกฎหมาย โดยมีการแก้ไข พรบ.เพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เพื่อธุรกิจสตาร์ทอัพ, พรบ.ส่งเสริมวิสาหกิจเริ่มต้นแห่งชาติ, SMART Visa เป็นต้น”

ดร.สุวิทย์ กล่าวย้ำว่า ระบบนิเวศสตาร์ทอัพ (Startup Ecosystem) ของไทยถือได้ว่า มีการเติบโตแบบติดจรวด เป็นที่ยอมรับจากทั่วโลก เริ่มดึงดูดสตาร์ทอัพและนักลงทุนต่างประเทศเข้ามา ซึ่งก้าวต่อไป เราตั้งเป้าว่าสตาร์ทอัพจะเข้ามามีบทบาทพัฒนาและเปลี่ยนแปลงการทำงานของภาคเอกชน มีการนำนวัตกรรมเข้ามาพัฒนาองค์กรให้ก้าวหน้าขึ้น ความสนใจของสตาร์ทอัพจะหันมาสู่เทคโนโลยีขั้นสูง (Deep Tech)ที่สามารถเปลี่ยนแปลงวงการต่างๆ ที่จำเป็นต่อความเป็นอยู่ในประเทศไทย พัฒนาอุตสาหกรรมหลักของประเทศให้ก้าวหน้าขึ้นไป นั่นคือความคาดหวังที่จะเกิดขึ้นในก้าวต่อไปของ STARTUP THAILAND โดยเริ่มต้นจากการสร้างปรากฏการณ์ใหม่ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในประเทศไทย และเป็นปรากฏการณ์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในงาน STARTUP THAILAND 2018 ที่จะเกิดขึ้น 17-20 พฤษภาคมนี้

ดร. พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) กล่าวถึงไฮไลท์ของงาน STARTUP THAILAND 2018 ที่จะจัดขึ้นในครั้งนี้ว่า จะเป็นการรวม 5 ความยิ่งใหญ่ที่สุด (BIGGEST) ของงานสตาร์ทอัพในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มาไว้ในงานเดียว ตั้งแต่

• BIGGEST STARTUP EVENT in Southeast ASIA เป็นงานของสตาร์ทอัพที่ใหญ่ที่สุด โดยภาครัฐ ภาคเอกชน ประชาคม เครือข่ายความร่วมมือจาก 25 ประเทศ พร้อมจัดแสดงผลงานมากกว่า 400 สตาร์ทอัพ
• BIGGEST PARTICIPANTS in Southeast ASIA เป็นงานมีจำนวนผู้เข้าร่วมและชมงานมากที่สุดในภูมิภาค
• BIGGEST TECH Conferencein Southeast ASIA ภายใน 4 วันของการจัดงาน มี 18 TECH Conference
• BIGGEST Hackathons in Southeast ASIA การแข่งขันที่รวมคนมีไฟและความฝันมาเค้าพลังสมองและความคิดมากกว่า 1,500 คน กับ 2 วัน 1คืน ในการแข่งขันกับ 5 หัวข้ออันท้าทาย
• BIGGEST PITCHING Stages in Southeast ASIA การค้นหาสุดยอดสตาร์ทอัพระดับประเทศประจำปี 2018 ชิงเงินรางวัลรวมกว่า 1 ล้านบาท
นอกจากนั้น พบวิทยากรชั้นนำระดับโลกที่จะมาบรรยายแชร์ประสบการณ์กว่า 500 คนจากไทย 350 คน ต่างประเทศ 150 คน ตลอด 4 วันของการจัดงาน ทั้งจากผู้บริหารระดับสูงจากคนที่ล้มลุกคลุกคลาน และปลุกปั้นบริษัทมากับมือรวมถึงเหล่านักคิดนวัตกรรมและกลุ่มคนผู้พร้อมลงมือทำเพื่อเปลี่ยนแปลงโลก รวมทั้งกิจกรรมอีกมากมาย อาทิ เวทีพบปะนักลงทุน (SPEED Dating), JOB Fest, Makerspace ทั้งหมดนี้จะเกิดขึ้นในงาน STARTUP THAILAND 2018 ภายใต้ธีม (Theme) ของงานคือ “โอกาสที่ไม่สิ้นสุดของทุกคน- ENDLESS OPPORTUNITIES” เพราะทุกท่านคือเจ้าของแพลตฟอร์มที่เราสร้างมาด้วยกัน ซึ่งงานดังกล่าวจะเริ่มขึ้นในวันที่ 17-20 พฤษภาคม 2561 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

“ปัจจุบันเราได้ก้าวสู่ทศวรรษแห่งการเปลี่ยนแปลง ก้าวสู่ยุคเทคโนโลยี นวัตกรรมและดิจิตอล เมล็ดพันธุ์ใหม่ คนรุ่นใหม่ ต้องแสวงหาโอกาสและทางเลือกเพื่อก้าวสู่อาชีพใหม่ของการเป็นผู้ประกอบการ ซึ่งคนรุ่นใหม่จะก้าวสู่อาชีพใหม่ เพื่อทำให้ตนเองอยู่รอดและประเทศก็จะอยู่รอด โดยในงานจะเป็นโอกาสทึ่ให้กับทุกคน ที่ให้ความรู้ ซึ่งมีผู้เชี่ยวชาญ กูรูผู้รู้มาให้คำแนะนำ มีเงินทุนและแหล่งเงินทุน อีกทั้งวิธีการและแนวทางที่เป็นตัวอย่างให้เห็น นอกจากนี้ก็ยังจะมีเพื่อนสตาร์ทอัพ มีพันธมิตร มีประชาคม และเครือข่ายในต่างประเทศ ดังนั้นจึงเป็นโอกาสของทุกคนทีไม่ควรพลาดด้วยประการทั้งปวง” ดร.สุวิทย์ กล่าวในตอนท้าย

 

ลำดับ

 

ชื่อผลงาน

 

 

ชื่อมหาวิทยาลัย

 

อันดับ

 

ภูมิภาคที่ชนะ

 

รายละเอียดผลงาน

 

สิ่งที่นำมาแสดง

1.

 

Fifth Gear

 

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 1 ภาคใต้ ไฟท้ายจักรยานอัจฉริยะ ที่สามารถตรวจจับการเกิดอุบัติเหตุของผู้ขับขี่จักรยานและสามารถส่งข้อความพร้อมโลเคชั่นไปให้กับคนที่เรารักหรือแม้แต่ศูนย์นเรนทรได้โดยตรง นอกจากนี้ยังมีฟังก์ชันอื่นๆ เช่น การป้องรถหาย หรือ เสียงแตรหลากหลายรูปแบบที่ใช้ในสถานการณ์ที่ต่างกัน เป็นต้น NOTEBOOK Prototyde
2.

 

ดิ การ์เดียน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 1 ภาคกลาง NOTEBOOK Prototyde
3.

 

Easy Gas มหาวิทยาลัยศิลปากร 1 ภาคเหนือ NOTEBOOK Prototyde,

ถังแก๊ส

4.

 

Bionanomer มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีเจ้าคุณทหารลาดกระบัง 1 ภาคอีสาน

 

บริษัท Bionanomer ได้คิดค้นผลิตภัณฑ์ LadyKit ขึ้นมาเพื่อใช้ในการตรวจจับ (Detect) เชื้อ Human Papillomavirus ทั้งในกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง (high-risk type) และกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่ำ (low-risk type) ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งปากมดลูก (Cervical cancer) ซึ่งจะเป็นการลดขั้นตอนในการเข้ารับการตรวจภายใน หรือ Pap Smear Test ตามสถานพยาบาลต่างๆ รวมถึงจะเข้าถึงผู้ที่ติดเชื้อ HPV ที่ไม่มีการแสดงอาการ (Asymptomatic patient) ที่ไม่กล้าเข้ารับบริการการตรวจภายใน และ Pap smear โดยอุปกรณ์ LadyKit นี้ได้มีผลงานวิจัยมาแล้ว โดย รองศาตราจารย์ ด๊อกเตอร์ เกียรติทวี ชูวงศ์โกมล จากภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พร้อมกับผู้ช่วยวิจัย นางสาว สุภาพร กลางประพันธ์ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก พญ. ฝนทิพย์ วัชราพรณ์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาล รามาธิบดี พร้อมด้วย นศพ. ชาวิน แดนมะตาม จากคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล จึงทำให้ชุดตรวจหาเชื้อ HPV LadyKit นี้จึงมีประสิทธิภาพสูง และจะช่วยเพิ่มความตระหนัก (awareness) ให้ผู้หญิงไทยสามารถเข้าถึงการตรวจหาเชื้อ HPV ซึ่งอาจจะช่วยลดจำนวนผู้ติดเชื้อ HPV และสามารถเข้าถึงการรักษาโรคมะเร็งปากมดลูกได้อย่างทันท่วงที
 
5.

 

ARAY มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 2. ภาคกลาง เว็บไซต์  Law U คือเว็บไซต์ที่เป็นสื่อกลางระหว่างทนายและลูกความให้มาเจอกัน  ซึ่งช่วยให้คำปรึกษาและค้นหาทนายที่มีความเหมาะสมกับคดีให้ โดยจะแสดงข้อมูลของทนายเบื้องต้น ได้แก่ ชื่อ ประสบการณ์การทำงาน และรีวิวของผู้ใช้งานคนอื่นๆ รวมทั้งสามารถแชทกับทนายก่อนได้ เพื่อประกอบการตัดสินใจในการเลือก
6.

 

กล้วย 1 มหาวิทยาลัย ราชมงคลรัตนโกสินทร์ 2 ภาคเหนือ นวัตกรรมผงกล้วยหอมทองดิบ

ซึ่งใช้บรรเทาอาการกรดไหลย้อน

แตกต่างจากผงกล้วยดิบธรรมดาทั่วไปคือ หลังจากผ่านกระบวนการนวัตกรรมแล้ว โครงสร้างโมเลกุลของผงกล้วยมีความแข็งแรงมากขึ้นและช่วยเรื่องคุณสมบัติการยึกเกาะ(เคลือบ) ระบบทางเดินอาหารได้ดีขึ้นและยังได้ตัว RS3 เพิ่มขึ้นมา ช่วยเรื่องระบบขับถ่ายด้วย ซึ่งในผงกล้วยปกติจะเป็นแค่ RS2

SHOWCASE : NEW GEN U-LEAGUE STARTUP

 


 

 

สำหรับ STARTUP Thailand U-League ระดับมหาวิทยาลัย ถือเป็นเครื่องมือหนึ่งในการบูรณาการการทำงานร่วมกันของหน่วยงานภาครัฐ สถาบันการศึกษา และภาคเอกชน ในการสร้างสภาพแวดล้อมที่จะจุดประกายและส่งเสริมการเติบโตของสตาร์ทอัพ  รวมทั้งก่อให้เกิดสังคมแห่งผู้ประกอบการขึ้น  โดย กระทรวงวิทย์ฯ ร่วมกับมหาวิทยาลัยกว่า 30 แห่ง ทั่วประเทศ ขับเคลื่อนการพัฒนามหาวิทยาลัยแห่งการประกอบการ   ดังนั้น เวทีแห่งนี้จึงไม่ใช่แค่เวทีเพื่อนำเสนอไอเดีย เพื่อพิชิตใจคณะกรรมการเท่านั้น  แต่เป็นเวทีแห่งโอกาส สำหรับเด็กรุ่นใหม่ที่มีไอเดีย ความคิดสร้างสรรค์ และต้องการสานฝันสู่การเป็นสตาร์ทอัพ  ซึ่งทางกระทรวงวิทย์ฯ จัดให้มีการฝึกอบรม เข้าร่วมแคมป์เพื่อพัฒนาแนวคิด ไอเดีย แผนธุรกิจให้แก่นิสิตนักศึกษาโดยวิทยากรที่ประสบความสำเร็จด้านธุรกิจสตาร์ทอัพ   ก่อนเข้าสู่สนามของการนำเสนอผลงานจริงแก่คณะกรรมการ  โดยเปิดรอบคัดเลือก 4 ภาค จังหวัดสงขลา เชียงใหม่ กรุงเทพฯ ขอนแก่น ตามลำดับ  ทุกทีมที่ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการ จะได้รับเงินสนับสนุนเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบ ตั้งเป้าจะมี 600 ทีมจากนักศึกษาทั่วประเทศที่จะได้เงินสนับสนุนจัดทำผลิตภัณฑ์ต้นแบบ  และลุ้น 4 ทีมสุดท้าย ที่จะเข้าร่วมชิงเงินรางวัลกว่า 300,000 บาท ในงาน STARTUP Thailand 2018   พร้อมโอกาสต่อยอดธุรกิจเชิงพาณิชย์

 

ผู้ชนะเลิศการแข่งขันStartup Thailand U-League ระดับมหาวิทยาลัย

  • ภาคใต้ ได้แก่ ทีม Fifth Gear จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์: ประเภท ไลฟ์สไตล์เทค (LifeStyle Tech) มีจุดเด่นของผลิตภัณฑ์คือเป็นอุปกรณ์เสริมติดตั้งรถจักรยานอัจริยะ สามารถบันทึกการเดินทางของผู้ขี่จักรยาน พร้อม GPS ระบุพิกัด อีกทั้งสามารถแจ้งขอความช่วยเหลือเมื่อเกิดอุบัติเหตุตามท้องถนน และแจ้งเตือนหากมีคนพยายามขโมยจักรยาน รวมถึงสามารถเคลมประกันจากบริษัทประกันชั้นนำ   ทีม Fifth Gear เป็นนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • ภาคเหนือ ได้แก่ทีม Easy Gasจากมหาวิทยาลัยศิลปากร : ประเภทอุตสาหกรรม (Industrial Tech) มีจุดเด่นของผลิตภัณฑ์คือ การผลิตแก๊สหุงต้มชีวภาพเพื่อใช้ในครัวเรือนโดยนำแก๊สมีเทน จากการย่อยสลายจากเศษอาหารมาแปรรูปใช้งานแทนปิโตรเลียมเหลวหรือ LPG และติดตั้งเซนเซอร์แจ้งเตือนเมื่อปริมาณแก๊สในถังใกล้หมด ทีม Easy Gas เป็นนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยศิลปากร
  • ภาคกลาง ได้แก่ ทีม D’ GUARDIAN” (ดิ การ์เดียน)จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี: ประเภทสุขภาพ (Health Tech) มีจุดเด่นของผลิตภัณฑ์ คือ ระบบเฝ้าระวังอัจฉริยะสำหรับผู้สูงอายุและผู้พิการ ซึ่งระบบจะทำการส่งการแจ้งเตือนเหตุฉุกเฉินไปยังผู้ดูแลของผู้สูงอายุและผู้พิการผ่านทางการโทรและการส่งข้อความ เพื่อให้เกิดความรวดเร็วต่อการให้ความช่วยเหลือและได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที
  • ภาคอีสาน ได้แก่ ทีม Bionanomer (ไบโอนาโนเมอร์)ของสถาบันเทคโนโลยีเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง : มีจุดเด่นของผลิตภัณฑ์ คือเป็นชุดตรวจหาเชื้อมะเร็งปากมดลูก ได้ภายใน 5 นาทีโดยการตรวจจับตัวเชื้อไวรัสชนิดที่มีความเสี่ยงที่มีความเสี่ยงสูงซึ่งเป็นสาเหตุหลักในการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูก

 

 

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.


*