งานเวิร์คช็อปการเขียนบทละคร” Storyteller intensive program with Korean professional screenwriter 2023″

กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ร่วมกับ สมาคมนักเขียนบทละครโทรทัศน์ จัดงานเปิดตัว กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนานักเขียนบทละครโทรทัศน์ ร่วมกับ นักเขียนบทละครจากสาธารณรัฐเกาหลี “ Storyteller intensive program with Korean professional screenwriter 2023 ”

กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ร่วมกับ สมาคมนักเขียนบทละครโทรทัศน์ จัดงานกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนานักเขียนบทละครโทรทัศน์ ร่วมกับ นักเขียนบทละครจากสาธารณรัฐเกาหลี “ Storyteller intensive program with Korean professional screenwriter 2023 ”
โดยมี ดร.ธนกร ศรีสุขใส ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ให้เกียรติเป็นประธาน พร้อมด้วย คุณคฑาหัสต์ บุษปะเกศ นายกสมาคมนักเขียนบทโทรทัศน์ ร่วมเป็นเกียรติภายในงาน ทั้งนี้งานนี้ได้รับความร่วมมือจาก นักเขียนจากสาธารณรัฐเกาหลี ส่งนักเขียนบทละครมืออาชีพจากเกาหลี 3 ท่าน ได้แก่


คุณ Yoonjung Jung นักเขียนบทละครเจ้าของเรื่อง Idol – The Coup / The Bride of Habaek 2017 / Misaeng / Monstar / Arang and the Magistrate / Joseon Scientific Investigation Unit – Byulsungum
คุณ Hyejin Park นักเขียนบทละครเจ้าของเรื่อง Sword and Flower / The Emperor: Owner of the Mask / Café MINAMDANG
คุณ Jaeeun Kim นักเขียนบทละครเจ้าของเรื่อง The Forbidden Legend / Iris / Bad Guy / Iris for Movie / R2B: Return to Base


มาเป็นวิทยากรในหลักสูตรเข้มข้นเกี่ยวกับ การสร้างสรรค์บทโทรทัศน์ และการสร้างแนวความคิดของการเล่าเรื่องที่น่าสนใจ โดดเด่น จนได้รับการชื่นชอบติดตามจากผู้ชม เป็นเวลา 2 วัน โดยมีนักเขียนบทละครโทรทัศน์มืออาชีพของไทย เข้าร่วมการอบรมครั้งนี้


สำหรับการจัดงานในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพนักเขียนบทโทรทัศน์ในระดับมืออาชีพ ในฐานะผู้คิดสร้างสรรค์งานเล่าเรื่องให้มีทักษะสร้างสรรค์สื่อปลอดภัยและเหมาะสมกับบริบทของสังคม ทั้งยังส่งเสริมให้เกิดกระบวนการเรียนรู้การเล่าเรื่องและการเขียนบทละครโทรทัศน์ที่สามารถนำมาพัฒนาทีกษะการออกแบบและการสร้างสรรค์สื่อที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนและสังคมส่วนรวม นอกจากนี้ยังส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดกระบวนการคิดและผลิตสื่อที่มีเนื้อหาปลอดภัยและสร้างสรรค์ ด้วยองค์ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิถีชีวิตความเป็นอยุ่ ภูมิปัญญา สภาพปัญหา ตลอดจนอัตลักษณ์ท้องถิ่นอันนำไปสู่แนวทางการสร้างสรรค์เนื้อหา (Content) และการคิดโครงเรื่อง (Plot) และศิลปะของการเล่าเรื่อง (Storytelling) สำหรับผลิตเป็นบทละครโทรทัศน์ หรือสื่อในมิติอื่นๆ ที่แปลกใหม่และน่าสนใจต่อไปในอนาคต รวมทั้งต่อยอดการเรียนรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้ผลิตสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.


*