Enterprise Innovation Awards 31สองบริษัทยักษ์ใหญ่ตอกย้ำความสำคัญ​ Big Data Analytics และ AI

 Enterprise Innovation Awards 31สองบริษัทยักษ์ใหญ่ตอกย้ำความสำคัญ​ Big Data Analytics และ AI สุดยอดเทคโนโลยีตัวธุรกิจสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของการปฏิรูปดิจิทัล

ในภาพอาจจะมี 3 คน, คนที่ยิ้ม, ผู้คนกำลังยืน และชุดสูท

กรุงเทพฯ ประเทศไทย วันที่ 31 กรกฎาคม 2562 – นายธรรมชาติ โรจนเบญจวงศ์ (ขวาของภาพ) ผู้อำนวยการ ผู้บริหารกลุ่มสายงาน Digital Banking และนวัตกรรม ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) นายมงคล เล็กสมบูรณ์ (ซ้ายของภาพ) ผู้อำนวยการ ฝ่ายดิจิทัลและเทคโนโลยีสารสนเทศ บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เอาชนะผู้เข้าชิงกว่า 20 ราย คว้ารางวัล “Enterprise Innovation Awards” สุดยอดผู้ประกอบการที่โดดเด่นด้านวัตกรรมของไทย ตอกย้ำความสำคัญของการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ ภายในงาน Asia IoT Business Platform (AIBP) ครั้งที่ 31 งานประชุมด้านเทคโนโลยี IoT เพื่อธุรกิจระดับอาเซียน ที่มุ่งเน้นกระบวนการในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ภายใต้แนวคิด “Driving Digitalisation Ecosystems” ซึ่งจัดขึ้นอย่างต่อเนื่องในประเทศไทยเป็นปีที่ 5 ในวันที่ 31 กรกฎาคม – 1 สิงหาคม 2562 ณ โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล กรุงเทพฯ โดยผู้ที่มอบรางวัลคือ .รองประธานกรรมการบริหาร สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa)

“ธนาคารกรุงศรีอยุธยา” หนึ่งในสถาบันการเงินยักษ์ใหญ่ของไทย คว้ารางวัลชนะเลิศด้วยโครงการ “Smart Advisor”ให้คำแนะนำเพื่อช่วยให้ลูกค้าบรรลุเป้าหมายทางการเงินผ่านระบบบริการดิจิทัล AI ที่สะดวก แม่นยำ และรวดเร็วอย่างมากเริ่มโปรแกรม “ปฏิรูปดิจิทัลในองค์กรสุดล้ำ ซึ่งรวมถึงโครงการต่าง ๆ อาทิ การติดตั้งเครือข่ายไร้สายเพื่อรองรับอุปกรณ์การทำงานทั่วทั่งองค์กร และการบำรุงรักษาโรงงานอัจฉริยะ (Smart Plant Maintenance) เพื่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน

สำหรับงาน Asia IoT Business Platform (AIBP) ได้รับการสนับสนุนโดย กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (Thailand’s Ministry of Digital Economy and Society) ร่วมกับ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy Promotion Agency) หรือ DEPA โดยงาน AIBP มุ่งเน้นไปที่นโยบายประเทศไทย 4.0 และให้ความสำคัญกับการนำโครงการ IoT ไปใช้งานในองค์กรท้องถิ่นและองค์กรด้านบริการสาธารณะ รวมถึงการพัฒนาล่าสุดในอุตสาหกรรม IoT เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารของประเทศไทย ที่มีความท้าทายท้าทายอย่างมากในปัจจุบัน
นอกจากนั้น AIBP ยังเผยผลการสำรวจจากผู้เชี่ยวชาญด้านธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ 1,624 คนทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ชี้เทคโนโลยีดิจิทัลมาแรงทั่วภูมิภาคและถูกนำเอามาใช้เพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขันอย่างเข้มข้น โดย 79.8% ยอมรับว่า องค์กรของพวกเขาเชื่อมต่อกัน ใช้ระบบอัตโนมัติ การวิเคราะห์ข้อมูลขั้นสูง และเครื่องมือดิจิทัลอื่น ๆ สำหรับการปรับปรุงกระบวนการและการดำเนินงาน มีเพียง 8.4% ของผู้ตอบแบบสอบถาม เชื่อว่า การปฏิรูปโดยใช้ดิจิทัล (Digital Transformation) ยังไม่ได้เกิดขึ้นในองค์กรของพวกเขา การจัดงานในแต่ละประเทศทุกปี Asia IoT Business Platform ให้ความสำคัญกับองค์กรในประเทศที่ดำเนินการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการปรับปรุงกระบวนการทางธุรกิจ

อย่างไรก็ตาม ยังมีอีกหลายปัจจัยที่จะต้องคำนึงถึง เนื่องจากประชากรของประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีความก้าวหน้าที่สุดในด้านการเข้าถึงและความเร็วของอินเทอร์เน็ต โดยอยู่ในอันดับสองรองจากสิงคโปร์ สอดคล้องกับผลการสำรวจของ AIBP ASEAN Enterprise Digital Transformation ที่พบว่า 74% ของผู้นำธุรกิจในประเทศไทยเชื่อมต่อเนื้อหากับเทคโนโลยีหลากหลายประเภท เมื่อเทียบกับ 48.6% ในฟิลิปปินส์ที่โครงสร้างพื้นฐานการเชื่อมต่อยังคงเป็นปัญหาอยู่

ในส่วนของภาครัฐประเทศไทย ยังได้ลงทุนโครงสร้างพื้นฐานทั้งโปรแกรมและเครื่องมือ เพื่อให้แน่ใจว่าประเทศพร้อมสำหรับยุคใหม่ของดิจิทัลอย่างแท้จริง โดย นางสาวอัจฉรินทร์ พัฒนพันธ์ชัย ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เผยว่า ประเทศไทยได้ให้ความสำคัญกับการสร้างรากฐานดิจิทัลในอุตสาหกรรม ซึ่งมีทั้งเป้าหมายระยะสั้น การส่งเสริมการรวมระบบดิจิทัลในระดับชาติ และให้โอกาสที่เท่าเทียมกันสำหรับคนไทย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายแผนการพัฒนาระยะเวลา 20 ปี

ด้านหน่วยงานภาครัฐอย่าง สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) ยังได้เปิดตัวโครงการต่าง ๆ เพื่อช่วยให้บริษัทขนาดเล็กก้าวกระโดดในการนำกลยุทธ์ดิจิทัลมาใช้ เช่น:
⦁ บัตรกำนัล Mini-transformation สำหรับบริษัทที่ต้องการซื้อผลิตภัณฑ์หรือบริการเทคโนโลยีจากผู้ให้บริการโซลูชันที่ลงทะเบียนโดย depa
⦁ การจัดตั้งกองทุนโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล เพื่อสนับสนุนบริษัทและหน่วยงานภาครัฐในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล
⦁ จัดอบรมหลักสูตรต่าง ๆ เป็นประจำ อาทิ Digital CEO, Digital Community Boot Camp, UPSKILL SME เพื่อให้ความรู้พื้นฐานและการกำหนดกลยุทธ์ดิจิทัลแก่บริษัทต่าง ๆ

.รองประธานกรรมการบริหาร สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) กล่าวว่า “หนึ่งในภารกิจของเราคือการส่งเสริมและสนับสนุนองค์กรท้องถิ่นในอุตสาหกรรมของพวกเขาและเพื่อช่วยให้พวกเขาพัฒนานวัตกรรมใหม่ ในช่วงปีที่ผ่านมาที่เราได้ร่วมงานกับ AIBP เราได้เห็นผู้ประกอบการไทยในท้องถิ่นได้รับโอกาสในการแบ่งปันโครงการที่พวกเขาดำเนินการอยู่และความท้าทายของพวกเขา และเปิดตัวเองให้รู้จักกับกลยุทธ์ดิจิทัลของผู้เล่นต่างชาติ เพื่อแลกเปลี่ยนภารกิจและการฝึกอบรมในตลาดภายในอาเซียน นี่เป็นโอกาสที่ดีสำหรับเราที่ จะเข้าใจวิธีการช่วยเหลือธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นในการนำดิจิทัลมาใช้ และในเวลาเดียวกันก็ช่วยอำนวยความสะดวกในการแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีกับพันธมิตรระหว่างประเทศ”

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.


*