การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในปี 2016ผู้บริโภคในปัจจุบันเข้าใจความหมายของการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนมากเพ

ท่องเที่ยวแบบยั่งยืน ปีท่องเที่ยวไทย

การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในปี 2016ผู้บริโภคในปัจจุบันเข้าใจความหมายของการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนมากเพียงใด

กรุงเทพฯ,20 เมษายน 2559–เพื่อแสดงถึงการตระหนักถึงความสำคัญของวันคุ้มครองโลกหรือ Earth Day 2016Booking.comผู้นำระดับโลกที่ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางระหว่างผู้เดินทางกับตัวเลือกที่พักที่ยอดเยี่ยมและหลากหลายได้เปิดเผยผลจากรายงานการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ที่จัดทำทั่วโลก ซึ่งประกอบด้วยหัวข้อน่าสนใจมากมาย เช่น ‘การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน’ มีความหมายเช่นไรต่อผู้บริโภค ภาพลักษณ์ของที่พักแบบอย่างยั่งยืนในสายตาผู้บริโภค และในอนาคตมีสิ่งใดบ้างรองรับผู้เดินทางที่ตระหนักถึงความสำคัญของสิ่งแวดล้อม

การท่องเที่ยวสีเขียวหมายถึงอะไร?

ผู้เข้าร่วมการสำรวจจากทั่วโลกเพียงร้อยละ 42 เท่านั้นที่กล่าวว่าพวกเขาเป็นผู้เดินทางซึ่งท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน โดยผู้เดินทางชาวจีนร้อยละ72มีความเห็นว่าตนท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ส่วนชาวญี่ปุ่นนั้นอยู่ที่ร้อยละ 25ผลการสำรวจยังแสดงให้เห็นว่าผู้บริโภคมีความเข้าใจที่แตกต่างกันต่อคำว่า ‘การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน’ โดยผู้เข้าร่วมการสำรวจมากกว่าครึ่ง (ร้อยละ 56) เห็นว่าการเข้าพักที่ที่พักที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมคือการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน และมากกว่า 2 ใน 3 ของผู้เข้าร่วมการสำรวจยืนยันว่าพวกเขามีโอกาสที่จะเลือกจองที่พักหากทราบว่าที่พักดังกล่าวเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ตาม ผู้เดินทางจากทั่วโลกเกือบสองในสาม (ร้อยละ 65) กล่าวว่าพวกเขาไม่เคยหรือไม่ทราบว่าที่พักซึ่งเคยพักนั้นเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมหรือไม่ทั้งนี้ ร้อยละ 39 ของผู้เดินทางที่ไม่ได้วางแผนจะพักในที่พักซึ่งเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในปีนี้เป็นเพราะพวกเขาไม่ทราบว่ามีที่พักรูปแบบดังกล่าวให้บริการนอกจากนี้ยังพบว่าผู้เดินทางที่ระบุเหตุผลดังกล่าวนี้มากที่สุด ได้แก่ ชาวญี่ปุ่น (ร้อยละ 43) ชาวนิวซีแลนด์ (ร้อยละ 39) และชาวเยอรมัน (ร้อยละ 46)

ผู้เข้าร่วมการสำรวจร้อยละ 32 ระบุว่า กิจกรรมชดเชยการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon offsetting) จากการเดินทางทางอากาศเป็นการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในขณะที่ร้อยละ22รู้สึกว่าการพักในพื้นที่อนุรักษ์ธรรมชาติ เช่น อุทยานแห่งชาติ ถือเป็นการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ส่วนร้อยละ 16 คิดว่าการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนหมายถึงการตั้งแคมป์ และมากกว่าหนึ่งในสิบ (ร้อยละ 14)คิดว่าหมายถึงการเดินทางไปยังจุดหมายที่สามารถมีปฏิสัมพันธ์กับสัตว์ป่าท้องถิ่นได้

นอกเหนือจากด้านธรรมชาติแล้ว กิจกรรมด้านการสงเคราะห์ก็จัดว่าเป็นกิจกรรมการท่องเที่ยวอย่าง ‘ยั่งยืน’ เช่นกัน ซึ่งรวมถึงการซื้องานฝีมือและอาหารจากท้องถิ่น (ร้อยละ 35) หรือเป็นอาสาสมัครช่วยเหลือชุมชนท้องถิ่น (ร้อยละ 14) และการพักในชุมชนพื้นเมืองและเรียนรู้วัฒนธรรม (ร้อยละ 12)

ข้อสงสัยเกี่ยวกับที่พักซึ่งสอดคล้องกับการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

นอกจากการสำรวจดังกล่าวจะแสดงให้เห็นว่าความหมายของการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในความเข้าใจของแต่ละบุคคลนั้นแตกต่างกันแล้ว ยังแสดงให้ด้วยเห็นว่าเมื่อกล่าวถึง ‘ที่พักซึ่งสอดคล้องกับการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน’ ผู้คนมักมีความสับสนและสงสัย เช่น ผู้เดินทางยืนยันว่าจะไม่จองที่พักซึ่งเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในปีนี้ เนื่องจากที่พักประเภทดังกล่าวมีราคาแพง(ร้อยละ 22)ไม่หรูหราเท่าที่พักอื่นๆ (ร้อยละ 10) หรือไม่เชื่อว่าที่พักแห่งนั้นเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างแท้จริง (ร้อยละ 13) ชาวอังกฤษและออสเตรเลียนั้นมีความเหมือนกันที่จะไม่จองที่พักเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเนื่องจากข้อจำกัดด้านค่าใช้จ่าย(ร้อยละ 30 เท่ากัน) ส่วนชาวญี่ปุ่นร้อยละ14 กล่าวว่าสาเหตุเป็นเพราะไม่ไว้วางใจว่าที่พักจะเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมจริงตามที่กล่าวอ้าง

นางกิลเลียน ทานส์ ผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการของ Booking.com ได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า“ที่พักซี่งสอดคล้องกับการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนนั้นไม่ได้หมายถึงเพียงการจัดแสงไฟสลัว ใช้น้ำแรงดันต่ำ หรือไม่มีเครื่องปรับอากาศ ผู้เข้าพักอาจไม่ได้ตระหนักว่าพวกเขาเอนกายอยู่บนผ้าปูที่นอนซึ่งทอจากฝ้ายที่ปลูกแบบเกษตรอินทรีย์ ชำระร่างกายด้วยน้ำอุ่นซึ่งใช้พลังงานของโรงแรมเอง ซึ่งถือเป็นการเข้าพักอย่างยั่งยืน หรือแม้แต่การรับประทานอาหารซึ่งใช้วัตถุดิบจากแหล่งในระยะ 30 กิโลเมตรจากที่พัก ก็นับได้ว่าเป็นผู้เดินทางอย่างยั่งยืนที่ช่วยสนับสนุนธุรกิจของท้องถิ่น”

ในความเป็นจริงแล้ว เมื่ออ้างอิงจากงานวิจัยของBooking.com ที่พักมากกว่า 1ใน4 (ร้อยละ 26) ยืนยันว่าได้เริ่มดำเนินการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและเกือบ 1 ใน 5 (ร้อยละ 19) ช่วยสนับสนุนชุมชนท้องถิ่นในขณะที่ที่พักขนาดใหญ่ (มี 36 ห้องขึ้นไป) มีการดำเนินการเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนมากกว่า โดย1 ใน 3 (ร้อยละ 33)ได้เริ่มดำเนินการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และ เกือบเป็น 1 ใน 4 (ร้อยละ 24) ให้การสนับสนุนชุมชนท้องถิ่นนอกจากนี้ที่พักมากกว่าครึ่ง (ร้อยละ 51) ได้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์ด้านการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ซึ่งกำหนดโดยองค์กรที่เป็นที่ยอมรับ เช่น สภาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก (Global Sustainable Tourism Council:GSTC)

นางกิลเลียน ยังได้กล่าวเพิ่มเติมว่า“หากการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนมีความชัดเจนเพิ่มขึ้น เป็นที่เข้าใจยิ่งขึ้น และเป็นที่รับรู้มากขึ้น ก็จะช่วยให้ผู้เดินทางมีข้อมูลเพื่อตัดสินใจเลือกที่พักและจุดหมายได้ดีขึ้น งานวิจัยและการพูดคุยกับผู้ให้บริการที่พักผ่าน Booking.com นั้นเป็นการแสดงออกถึงความพยายามที่จะให้เกิดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ซึ่งเรายินดีอย่างยิ่งที่สามารถแบ่งปันข้อมูลกับผู้เดินทางซึ่งกำลังค้นหาและเลือกที่พักบนเว็บไซต์ของเรา”

ผลสำรวจแสดงให้เห็นถึงมติอันเป็นเอกฉันท์ว่าจำเป็นต้องมีการดำเนินการอย่างแข็งขันอีกมากเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน โดยมีผู้เดินทางเพียงร้อยละ 5 เท่านั้นที่คิดว่าการดำเนินการดังกล่าวเป็นเรื่องง่าย ในขณะที่มีแนวความคิดที่หลากหลายในการส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ในจำนวนนั้นมี2 แนวคิดที่มีการเสนอขึ้นมามาก คือการให้สิทธิพิเศษในเชิงเศรษฐกิจ เช่น การลดภาษีสำหรับผู้เดินทางเชิงอนุรักษ์ (ผู้เข้าร่วมการสำรวจร้อยละ 41 เห็นด้วยกับแนวความคิดนี้) และการกำหนดมาตรฐานสากลด้านการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (ร้อยละ 41)  อนึ่ง แม้ว่าจะยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจนในขณะนี้ แต่เว็บไซต์จองที่พักมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน เนื่องจากร้อยละ 38ของผู้เข้าร่วมการสำรวจระบุว่าต้องการให้เว็บไซต์จองที่พักช่วยทำให้เข้าใจความหมายและเปรียบเทียบที่พักและการเดินทางต่างๆ ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมได้ง่ายยิ่งขึ้น

อนาคตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมยิ่งขึ้น?

ร้อยละ 62 ของผู้เข้าร่วมการสำรวจยืนยันว่าจะเลือกพักที่พักซึ่งสอดคล้องกับการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนภายในปีนี้ และร้อยละ 50กล่าวว่าได้พิจารณาหรือกำลังพิจารณาเลือกจุดหมายการเดินทางที่ตอบสนองการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนแม้ว่าพวกเขาไม่ได้สนใจนำประเด็นนี้มาพิจารณาเลือกที่พักมาก่อนซึ่งจุดหมายการเดินทางดังกล่าว หมายรวมถึงที่พักที่มีการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติและสัตว์ป่า มีการปฏิบัติกับสัตว์อย่างเป็นธรรม และมีโครงการช่วยเหลือชุมชนท้องถิ่น

เมื่อมีผู้คนที่ต้องการสัมผัสประสบการณ์เข้าพักที่สอดคล้องกับการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนมากขึ้น Booking.com จึงได้พิจารณาหนทางที่จะพัฒนาแพลตฟอร์มค้นหาที่พัก Passion Search ให้รวมความสนใจเชิงอนุรักษ์ธรรมชาติรวมถึงพัฒนาฐานข้อมูลจุดหมายการเดินทางที่จะช่วยให้ค้นหาจุดหมายที่ดีที่สุดที่สนับสนุนการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนได้ง่ายดายยิ่งกว่าเดิม

นางกิลเลียน ทานส์กล่าวสรุปว่า“เรายินดีอย่างยิ่งที่ได้เห็นความตั้งใจจริงของผู้คนมากมายที่ต้องการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนด้วยจำนวนที่มากขึ้นของผู้คนที่ต้องการเลือกที่พักซึ่งเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในอนาคต เราจะเสาะหาวิธีที่มีประสิทธิภาพเพื่อช่วยให้ผู้เดินทางท่านอื่นสามารถค้นพบและสัมผัสการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโดยอาศัยคำแนะนำกว่า 26 ล้านรายการจากฐานลูกค้าขนาดใหญ่ของเรา”

เกี่ยวกับBooking.com:
Booking.com เป็นผู้นำในด้านการจองโรงแรมและที่พักประเภทอื่น ๆ ออนไลน์ ซึ่งรับประกันราคาดีที่สุดสำหรับที่พักทุกประเภท นับตั้งแต่ที่พักขนาดเล็กไปจนถึงโรงแรมสุดหรูระดับ 5 ดาว ทั้งนี้ ลูกค้าสามารถใช้บริการเว็บไซต์ของ Booking.com ได้ทุกที่ทุกเวลา ไม่ว่าจะเป็นจากเครื่องคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ หรือแท็บเล็ต โดยไม่มีค่าธรรมเนียมการจอง เว็บไซต์ของ Booking.com ให้บริการใน 42 ภาษา โดยมีโรงแรมให้เลือกมากกว่า 880,00 แห่งและที่พักอื่น ๆ ซึ่งรวมถึงที่พักตากอากาศกว่า 402,000 แห่ง ครอบคลุมจุดหมายกว่า 87,400 แห่งใน 224 ประเทศทั่วโลก นอกจากนี้ ยังมีความคิดเห็นจากผู้เข้าพักกว่า 85 ล้านรายการซึ่งเขียนขึ้นหลังจากที่พวกเขาเข้าพักเรียบร้อยแล้ว และเว็บไซต์ก็ดึงดูดผู้เข้าชมเว็บออนไลน์ทั้งสำหรับตลาดผู้เดินทางเพื่อพักผ่อนและผู้เดินทางติดต่อธุรกิจทั่วโลก ด้วยประสบการณ์กว่า 19 ปี และทีมงานกว่า 10,000 คนในสำนักงานกว่า 174 แห่งทั่วโลก Booking.com มีทีมงานลูกค้าสัมพันธ์ของตนเองซึ่งพร้อมให้บริการลูกค้าทุกวันตลอด 24 ชั่วโมงในภาษาของลูกค้า เพื่อให้มั่นใจได้ว่าลูกค้าจะได้รับประสบการณ์ที่ดีที่สุด ทั้งนี้ Booking.com B.V. ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1996 เป็นเจ้าของและดำเนินธุรกิจ Booking.com™ และเป็นส่วนหนึ่งของ Priceline Group (NASDAQ: PCLN) ติดตามเราบน Twitter, Google+ และ Pinterest กดไลค์ Facebook ของเรา และอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.booking.com.

สื่อมวลชน กรุณาติดต่อ
วีโร่ พับลิครีเลชั่นส์
ภัทร์นีธิ์  จีริผาบ โทร 0-2684-1551-2 ต่อ 23หรือ 09-6535-3249อีเมล pattanee@veropr.com
ปิยะฉัตร นามบัณฑิต โทร 0-2684-1551-2 ต่อ  21 หรือ 08-6093-9019อีเมล piyachat@veropr.com

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.


*