GIT เปิดตัวบริการตรวจสอบและออกใบรับรองการตรวจสอบเครื่องประดับ เพิ่มความมั่นใจในการส่งต่อความมั่งคั่งและมั่นคงจากรุ่นสู่รุ่น

GIT เปิดตัวบริการตรวจสอบและออกใบรับรองการตรวจสอบเครื่องประดับ เพิ่มความมั่นใจในการส่งต่อความมั่งคั่งและมั่นคงจากรุ่นสู่รุ่น

16 สิงหาคม 2560: สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือที่รู้จักในนาม GIT จัดอบรมหลักสูตร “การเลือกซื้ออัญมณีและเครื่องประดับ” พร้อมเปิดตัวบริการตรวจสอบและออกใบรับรองอัญมณีและเครื่องประดับ (Jewelry Identification Report) เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้ที่ต้องการเก็บสะสมเครื่องประดับ ทั้งการลงทุน และ การสร้างความมั่นคงให้แก่ทายาทรุ่นต่อไป โดยมีเหล่าเซเลบริตี้ ร่วมกิจกรรมคับคั่ง อาทิ อินทิรา – ปรียามล ธนวิสุทธิ์ กัญญารัตน์ พลาดิศัย อุษณีย์ มหากิจศิริ ลีโอณีโอ ดร.อารียา อัศวานันท์ และอีกมากมาย ณ สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) อาคารไอทีเอฟ-ทาวเวอร์ สีลม

ในภาพอาจจะมี 7 คน, คนที่ยิ้ม

ในภาพอาจจะมี 1 คน, กำลังยิ้ม

ในภาพอาจจะมี 2 คน, คนที่ยิ้ม

ในภาพอาจจะมี 7 คน, คนที่ยิ้ม

ในภาพอาจจะมี 5 คน, คนที่ยิ้ม

ในภาพอาจจะมี 4 คน, คนที่ยิ้ม, ผู้คนกำลังยืน

ในภาพอาจจะมี 3 คน, คนที่ยิ้ม

ในภาพอาจจะมี 3 คน, คนที่ยิ้ม

ในภาพอาจจะมี 2 คน

ในภาพอาจจะมี 5 คน

ไม่มีข้อความกำกับภาพอัตโนมัติ

ในภาพอาจจะมี สถานที่ในร่ม

ไม่มีข้อความกำกับภาพอัตโนมัติ

ไม่มีข้อความกำกับภาพอัตโนมัติ

นางดวงกมล เจียมบุตร ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ เปิดเผยว่า “อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับของไทยเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญของประเทศเป็นอย่างมาก เพราะนอกจากจะเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญในการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจของประเทศ และสร้างรายได้จากการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับ (รวมทองคำ) ปี 2559 มีมูลค่าอยู่ที่ 14,247.6 ล้านเหรียญสหรัฐ ในจำนวนนี้เป็นการส่งออกทองคำอยู่ถึงครึ่งหนึ่ง ขณะที่การส่งออกทับทิมไทยไปยังตลาดโลกในปีที่ผ่านมามีมูลค่า 275.29 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวถึงเกือบ 16.37% โดยมีสัดส่วนคิดเป็น 25.81% ของมูลค่าการส่งออกพลอยสี และคิดเป็น 1.93% ของมูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยโดยรวม ซึ่งเห็นได้ว่า ประเทศไทยและยังคงรักษาสถานะผู้นำในตลาดโลกในหมวดสินค้าที่อัญมณีและเครื่องประดับอัญมณีไว้ได้อย่างต่อเนื่อง ด้วยฝีมืออันโดดเด่นของช่างเจียระไนเพชรพลอยของไทย คุณภาพของวัตถุดิบ และดีไซน์ที่ไม่เหมือนใครและเทคนิคต่างๆที่ช่างนำมาใช้ ล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งที่ช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับเครื่องประดับและอัญมณีไทยทั้งสิ้น”

“สำหรับการใช้เครื่องประดับอัญมณีและการซื้อขายอัญมณีและเครื่องประดับของคนไทยนั้น มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ โดยเฉพาะความนิยมใช้อัญมณีเพื่อตกแต่งร่างกายเพื่อทั้งใช้ในการบ่งบอกฐานะทางสังคม รวมถึงการใช้อัญมณีตามความเชื่อ จะเห็นได้ว่ามีการใช้เครื่องประดับมุก ทับทิม ไพลิน หรืออัญมณีประเภทพลอยนพ-เก้า (พลอยมงคล 9 ชนิด) และโลหะมีค่า เช่น ทองคำ มาโดยตลอด รวมทั้งการเก็บสะสมอัญมณีและเครื่องประดับเป็นมรดกตกทอดกันรุ่นต่อรุ่น แต่อย่างไรก็ตามสำหรับเรื่องการตรวจสอบในอดีตนั้นไม่ได้มีอย่างแพร่หลาย และคนส่วนใหญ่ซื้อโดย “ความเชื่อถือ” และจะเชื่อตามคำบอกกล่าวของผู้ขาย ซึ่งในสมัยก่อนนั้นการเลือกซื้ออัญมณีและเครื่องประดับเป็นการซื้อโดยความเชื่อมั่น และเชื่อใจระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย โดยส่วนมากจะเชื่อกันว่าเป็นเครื่องประดับแท้ แต่โดยความเป็นจริงแล้ว “อัญมณีสังเคราะห์” หรือ “เครื่องประดับเทียมเลียนแบบ” มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ ซึ่งทำให้ผู้ซื้ออาจจะซื้อ ของปลอม หรือ อัญมณีเลียนแบบ โดยไม่ทราบว่าเครื่องประดับนั้น คือพลอยชนิดใด ฉะนั้น อัญมณีและเครื่องประดับที่เก็บรักษาไว้ เพื่อมอบให้กับลูกหลาน หรือเก็บเพื่อเป็นสินทรัพย์ นั้น จึงควรที่จะระบุได้ว่าเป็น ชนิดใด เป็นของแท้หรือไม่ ซึ่งผู้เป็นเจ้าของสามารถหยิบออกมา ยืนยันคุณสมบัติ ระบุว่าเป็นของแท้ ของเทียมได้อย่างชัดเจน ด้วยเหตุนี้ สถาบันจึงได้เปิดให้บริการตรวจสอบและออกใบรับรองการตรวจสอบเครื่องประดับ ( Jewelry Identification Report ) ขึ้น ซึ่งใบรับรองที่การรับรองผลการตรวจวิเคราะห์อัญมณีและเครื่องประดับชนิดนี้ สามารถระบุคุณสมบัติเฉพาะของอัญมณีและเครื่องประดับได้อย่างชัดเจนทั้งในเรื่องน้ำหนัก ชนิดของอัญมณี การปรับปรุงคุณภาพ และความบริสุทธิ์ของโลหะมีค่า เป็นต้น อันจะสามารถใช้เป็นหลักฐานเพื่อการประเมินราคา การขายต่อ การทำประกัน หรือใช้ในการส่งผ่านมรดกจากรุ่นสู่รุ่นได้อย่างถูกต้องในอนาคต อีกทั้งใบรับรองการตรวจสอบจาก GIT เป็นการรับรองผลการตรวจวิเคราะห์อัญมณีจากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางของห้องปฏิบัติการตรวจสอบอัญมณีและเครื่องประดับที่มีเครื่องมือที่ทันสมัยที่สุดแห่งหนึ่งของโลก และได้รับการรับรองจาก The World Jewellery Confederation หรือ CIBJO ให้เป็น CIBJO Laboratory อีกทั้งยังได้รับการคัดเลือกให้เป็นสมาชิก 1 ใน 7 ของห้องปฏิบัติการชั้นแนวหน้าของโลกโดยเป็นคณะทำงาน (Laboratory Manual Harmonization Committee, LMHC) รวมทั้งได้รับการรับรองระบบคุณภาพ ISO 9001:2015 และ ISO17025:2005 จากสถาบัน UKAS ( United Kingdom Accreditation Service ) ที่แสดงให้เห็นถึงการยอมรับในมาตรฐานระดับสากล

นอกจากนี้ สถาบันฯ ยังได้จัดหลักสูตรฝึกอบรม “การเลือกซื้ออัญมณีและเครื่องประดับ” เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเพื่อให้สามารถซื้ออัญมณีและเครื่องประดับได้อย่างถูกต้อง มั่นใจทั้งผู้ให้และผู้รับ โดยกิจกรรมในวันนี้ มีเหล่าเซเลบริตี้ มาร่วมอบรมมากมาย อาทิ อินทิรา – ปรียามล ธนวิสุทธิ์ กัญญารัตน์ พลาดิศัย อุษณีย์ มหากิจศิริ ลีโอณีโอ ดร.อารียา อัศวานันท์ วิชชุดา ลีนุตพงษ์ กรองกาญจน์ ชมะนันทน์ และอีกมากมาย
สำหรับผู้สนใจบริการตรวจสอบและออกใบรับรองเครื่องประดับ (Jewelry Identification Report) สามารถใช้บริการได้ที่ทำการของสถาบัน อาคารไอทีเอฟ ชั้น 4 ถนนสีลม ทั้งนี้สถาบันยังมีการให้บริการตรวจสอบและออกใบรับรองนอกสถานที่เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้บริการอีกด้วย” นางดวงกมลกล่าวทิ้งท้าย

คิดถึงอัญมณี และเครื่องประดับ ….. คิดถึง GIT
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
ส่วนงานประชาสัมพันธ์ ฝ่ายพัฒนาธุรกิจ
สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
โทร. 02 634 4999 ต่อ โทรสาร 02 634 4999 ต่อ 636 – 638

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.


*