พิธีเปิดงานนิทรรศการ สถาปัตยกรรม 100 ปี

“สถาปัตยกรรม 100 ปี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” “สถาปัตยกรรม 100 ปี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” อย่างยิ่งใหญ่ครั้งแรกกับการชุบชีวิตอาคารเก่าให้กลับมาโลดแล่นครั้งในรูปแบบ 3 มิติ พร้อมบอกเล่าเรื่องราวสถาปัตยกรรมจุฬาฯ ตลอดหนึ่งศตวรรษที่ผ่านมา ผ่านเทคโนโลยีที่ทันสมัย เปิดให้เข้าชมฟรีตั้งแต่วันนี้ถึง 26 มีนาคม 2560 และศูนย์การค้าสยามสแควร์วัน

ในภาพอาจจะมี 11 คน, คนที่ยิ้ม, ผู้คนกำลังยืน และ ชุดสูท

ในภาพอาจจะมี 1 คน

ในภาพอาจจะมี 5 คน

ในภาพอาจจะมี 11 คน, ผู้คนกำลังนั่ง

ในภาพอาจจะมี 4 คน, ผู้คนกำลังยืน

ในภาพอาจจะมี 8 คน, ผู้คนกำลังยืน

รศ.ดร.วิษณุ ทรัพย์สมพล รองอธิการบดีกำกับดูแลด้านการจัดการทรัพย์สินและนวัตกรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า “เนื่องในโอกาสครบรอบ 100 ปี แห่งการสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในปี 2560 สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้กำหนดให้มีการจัดนิทรรศการ “สถาปัตยกรรม 100 ปี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระหว่างวันที่ 27 มกราคมถึง 26 มีนาคม 2560 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อย้อนรำลึกเรื่องราวสถาปัตยกรรมของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยตลอดหนึ่งทศวรรษที่ผ่านมา พร้อมบอกเล่าถึงมุมมองด้านสถาปัตยกรรมของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในศตวรรษที่ 2 เพื่อให้สาธารณะชนได้รับทราบ

“ที่ผ่านมา ทางมหาวิทยาลัยได้มีการวางแผนแม่บทที่จะพัฒนาอาคารหรือสถาปัตยกรรมบนพื้นดินพระราชทานแห่งนี้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทุกอาคารที่เกิดขึ้นจะมีความต่อเนื่องกัน ทั้งในแง่ความสวยงามและประโยชน์ใช้สอย โดยใช้หลักในการออกแบบอาคารที่ให้ความเคารพกับผู้ออกแบบอาคารก่อนหน้า ซึ่งปัจจุบันสถาปัตยกรรมที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่จะเป็นอาคารเรียน เพื่อเพิ่มพื้นที่ในการเรียนรู้ให้นิสิต โดยให้ความใส่ใจสิ่งแวดล้อม มีการสร้างและออกแบบอาคารให้ประหยัดพลังงานตั้งแต่ต้นกระบวนการไปจนถึงการใช้งาน สำหรับสถาปัตยกรรมที่ยิ่งใหญ่ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในการก้าวสู่ศตวรรษที่ 2 คือ การก่อสร้าง “อุทยาน 100 ปี” ซึ่งเป็นสวนสาธารณะแบบ Community Park พื้นที่ 28 ไร่ ตั้งอยู่ภายในบริเวณจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และการปรับพื้นที่ในซอยจุฬาลงกรณ์ 5 ให้เป็น “ถนนจุฬาฯ 100 ปี” ซึ่งจะเป็นถนนที่มีต้นไม้ร่มรื่น มีทางเดินทางจักรยาน ทางรถยนต์ และพื้นที่รับน้ำ ซึ่งถือเป็นการคืนของขวัญให้สังคมครั้งใหญ่ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในศตวรรษที่ 2 นี้

นายเทวินทร์ วงศ์วานิช นายกสมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า การจัดนิทรรศการ “สถาปัตยกรรม 100 ปี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” ถือเป็นโอกาสอันดีที่จะทำให้นิสิตเก่า นิสิตปัจจุบัน จะได้บอกเล่าและส่งต่อเรื่องราวด้านสถาปัตยกรรมที่มีความงดงามที่เป็นเอกลักษณ์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พร้อมบอกเล่าวิถีชีวิตและวิธีคิดของชาวจุฬาฯ ผ่านเทคโนโลยีที่ทันสมัยที่จะทำให้ผู้ชมสามารถเข้าใจเรื่องราวสถาปัตยกรรมของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ภายใน 15 นาที

“การจัดนิทรรศการ ‘สถาปัตยกรรม 100 ปี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย’ ใช้พื้นที่จัดงานทั้งหมด 400 ตารางเมตร แบ่งนิทรรศการออกเป็น 5 ส่วน ประกอบด้วย 1. จุฬาฯ อารัมภบท 2. บทบันทึกตึกจุฬาฯ 3. สนทนาสถาปนิกถึงนิสิตเก่า 4. ใต้ร่มจามจุรี ในหลวงรัชกาลที่ 9 และ 5. มองอาคารอ่านอนาคต โดยนำแอพพลิเคชั่น A CENTURY OF CU มาใช้เพื่อให้ผู้ชมนิทรรศการสามารถเห็นอาคารเก่าของจุฬาฯ อีกครั้งในรูปแบบสามมิติผ่านอุปกรณ์สื่อสาร เช่น วังใหม่ หรือที่คุ้นเคยกันในชื่อ ‘วังกลางทุ่ง’ ซึ่งเป็นวังเก่าแก่ในสมัยรัชกาลที่ 5 ที่เคยใช้เป็น ‘ห้องเรียนห้องแรก’ ของนิสิตจุฬาฯ รวมถึงมีการจำลองบางส่วนของอาคารทั้ง 15 อาคาร เพื่อให้ผู้ชมนิทรรศการได้เห็นวิวัฒนาการของสถาปัตยกรรมภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตลอดหนึ่งศตวรรษที่ผ่านมาได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น”

ไฮไลท์ของการจัดนิทรรศการ “สถาปัตยกรรม 100 ปี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” คือนิทรรศการในโซนใต้ร่มจามจุรี ในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่บอกเล่า 9 เรื่องราวพระมหา กรุณาธิคุณของในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่ทรงมีต่อจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตลอดรัชสมัยแห่งการครองสิริราชสมบัติอันยาวนานถึง 70 ปี อาทิ ทรงเสด็จพระราชดำเนินมาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นการส่วนพระองค์ เพื่อพระราชทานต้นจามจุรี 5 ต้น และทรงปลูกด้วยพระองค์เอง ทรงพระราชทานภาพวาดฝีพระหัตถ์ เป็นบัตรอวยพรในวันขึ้นปีใหม่ ให้แก่นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทรงพระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้จัดฉายภาพยนตร์ส่วนพระองค์ เพื่อหารายได้เป็นทุนเริ่มแรกในการก่อสร้างอาคารทันตรักษ์วิจัย คณะทันตแพทยศาสตร์ เป็นต้น

“วีเจจ๋า” ณัฐฐาวีรนุช ทองมี ในฐานะนิสิตเก่าคณะรัฐศาสตร์ สาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และนิสิตเก่าปริญญาโท สาขายุโรปศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ชีวิตวัยเรียน ในรั้วของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยทั้งปริญญาตรีและปริญญาโท จ๋ามีความรักความผูกพันกับอาคารสถานที่เรียนมากค่ะ ไม่ว่าจะเป็นอาคารรัฐศาสตร์ หรือสถานที่ประจำ เช่น โต๊ะหน้าคณะ ลานไทร ซึ่งจ๋าในฐานะศิษย์เก่า จึงอยากขอเชิญชวนให้นิสิตเก่า นิสิตปัจจุบัน และผู้ที่สนใจเข้ามาชมนิทรรศการพระเรียนรู้และซึมซับประวัติศาสตร์ด้านสถาปัตยกรรมตลอด 100 ปีที่ผ่านมาของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกันนะคะ โดยในโซน “สนทนาสถาปนิกถึงนิสิตเก่า” จะได้รับชมบทสนทนาระหว่างศิษย์เก่าจุฬาฯ ที่มีชื่อเสียงในวงการสร้างสรรค์และวงการบันเทิง อาทิ คุณซูโม่กิ๊ก, คุณบอย ปกรณ์, คุณมัดหมี่ พิมดาว, คุณเต๋อ นวพล, คุณทรงกลด บางยี่ขัน ฯลฯ ที่จะมาคุยกันเรื่องชีวิตความเป็นอยู่สมัยเรียน รวมทั้งความผูกพันกับตึกและสถานที่ในจุฬาฯ ผ่านคลิปวิดีโอขนาดสั้นอีกด้วยคะ

ทั้งนี้ นิทรรศการ “สถาปัตยกรรม 100 ปี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” จัดแสดงระหว่างวันที่ 27 มกราคม – 26 มีนาคม 2560 เวลา 10.00-21.00 น. ณ ศูนย์การค้าสยามสแควร์วัน บริเวณลานทางเชื่อมรถไฟฟ้า BTS ผู้ที่สนใจสามารถเข้าชมงานได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.


*