ก.วิทย์ฯ-สวทช. จับมือ กลุ่มบริษัทโชคนำชัยพัฒนาเทคโนโลยียานยนต์-เรือ เพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจไทย


ก.วิทย์ฯ-สวทช. จับมือ กลุ่มบริษัทโชคนำชัยพัฒนาเทคโนโลยียานยนต์-เรือ เพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจไทย

ณ บริษัท โชคนำชัย ไฮ-เทค เพรสซิ่ง จำกัด จ.สุพรรณบุรี: กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับ บริษัท โชคนำชัย ไฮ-เทค เพรสซิ่ง จำกัด และ บริษัท สกุลฎ์ซี อินโนเวชั่น จำกัด หนึ่งในกลุ่มบริษัทโชคนำชัย (CNC Group) ผู้ผลิตแม่พิมพ์ขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย จัดแถลงข่าวความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการออกแบบ การผลิตยานพาหนะสมัยใหม่ ที่สามารถนำมาต่อยอดในการสร้างหรือพัฒนาผลิตภัณฑ์เดิมให้สามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้ พร้อมทั้งสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจไทยให้สูงขึ้น

ในภาพอาจจะมี 1 คน, กำลังยิ้ม, ข้อความ

นางสุวิภา วรรณธารพ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สวทช. กล่าวว่า สวทช. ได้มีการดำเนินงานกิจกรรมทางด้านยานยนต์มา กว่า 10 ปี และในอนาคตเทคโนโลยียานยนต์จะมุ่งไปสู่การขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า แบตเตอรี่ รวมถึงการนำระบบอัจริยะต่างๆ มาติดตั้งในยานยนต์ ซึ่งเทคโนโลยีดังกล่าวจะทำให้เกิดการพัฒนาต่อยอดไปสู่การขับเคลื่อนที่ยานพาหนะได้หลายรูปแบบ อาทิ จากการขับเคลื่อนผ่านล้อยางเป็นมอเตอร์ใบพัดในลักษณะของการบินหรือเรือ สวทช. จึงได้ทำวิจัยและพัฒนาประเด็นมุ่งเน้นด้านการขนส่งสมัยใหม่ หรือ Modern Transportation ซึ่งจะมีความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศอย่างยิ่ง ทั้งการจ้างงาน การลงทุน การลดปัญหามลพิษ และสิ่งแวดล้อม รวมถึงสร้างอุตสาหกรรมและบริการใหม่ๆ อีกหลายประเภทในอนาคต ซึ่งทิศทางของแนวโน้มเทคโนโลยีดังกล่าว ทำให้การผลิตยานยนต์แบบเดิมๆ อาจไม่สามารถตอบรับกับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้ในอนาคต จึงจำเป็นที่ผู้ประกอบการไทยจะต้องปรับตัว และใช้โอกาสในช่วงเปลี่ยนแปลงนี้เร่งพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้สามารถตอบรับกับการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมยานยนต์ในอนาคตต่อไป

ในภาพอาจจะมี 4 คน, คนที่ยิ้ม, ผู้คนกำลังยืน

ในภาพอาจจะมี 2 คน, ข้อความ

ในภาพอาจจะมี 11 คน, คนที่ยิ้ม, ผู้คนกำลังยืน

ในภาพอาจจะมี น้ำ และสถานที่กลางแจ้ง

ในภาพอาจจะมี หนึ่งคนขึ้นไป

ไม่มีข้อความกำกับภาพอัตโนมัติ

ในภาพอาจจะมี สถานที่กลางแจ้ง และน้ำ

ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สวทช. กล่าต่อว่า ทั้งนี้กลุ่มบริษัท โชคนำชัย ได้มีความร่วมมือ กับ สวทช. ทั้งในด้านการวิจัยและพัฒนาโครงสร้างเรือ และรถโดยสาร โดยศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ เอ็มเทค สวทช. และ DECC โดยใช้กลไกของ โปรแกรมสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม หรือ ITAP รวมถึงการสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินงานด้วยเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ การยื่นขอรับการพิจารณาบัญชีนวัตกรรม และการลดภาษี 300% ซึ่งการดำเนินโครงการต่างๆ นั้น ประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดี ช่วยให้บริษัท โชคนำชัย และบริษัท สกุลฎ์ซี อินโนเวชั่นฯ สามารถพัฒนากระบวนการผลิตโดยมีนักวิจัยและผู้เชี่ยวชาญให้คำปรึกษา ทั้งนี้จากความสำเร็จที่ผ่านมาทางบริษัทจึงได้เตรียมทำสัญญาลงนามความร่วมมือด้านการวิจัยร่วมกับ สวทช. ซึ่งจะเกิดขึ้นในวันที่ 29 สิงหาคม 2561 ณ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมวิจัยและพัฒนายานพาหนะสมัยใหม่ รวมถึง ชิ้นส่วน โครงสร้าง และองค์ประกอบที่เกี่ยวข้อง ร่วมวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตแม่พิมพ์ และการออกแบบ และผลิตโครงสร้างน้ำหนักเบา ตลอดจนร่วมพัฒนาบุคลากร และกำลังคนที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยียานพาหนะสมัยใหม่ ซึ่งจากความสำเร็จที่ผ่านมาทำให้บริษัทมีความมั่นใจและมีความประสงค์ที่จะมีความร่วมมือกับ สวทช. ในด้านการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตใหม่ๆ เพื่อสร้างองค์ความรู้ และยกระดับศักยภาพในการผลิตยานยนต์ เพื่อคนไทยให้เกิดขึ้นในประเทศต่อไป

ในภาพอาจจะมี 1 คน, ข้อความ

ด้าน นายนำชัย สกุลฎ์โชคนำชัย ประธานกลุ่มบริษัท โชคนำชัย และบริษัท สกุลฎ์ซี อินโนเวชั่น จำกัด กล่าวว่า กลุ่มบริษัทโชคนำชัย (CNC Group) เป็นหนึ่งในองค์กรที่โลดแล่นอยู่ในวงการอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีของประเทศไทยมาอย่างยาวนาน ผลงานการค้นคว้าวิจัยด้านเทคโนโลยีที่บริษัทได้คิดค้นขึ้น นับเป็นองค์ความรู้สำคัญต่อการพัฒนาและต่อยอดเทคโนโลยี นวัตกรรม รวมไปถึงผลิตภัณฑ์ต่างๆ ให้มีคุณภาพที่สูงขึ้น จนทัดเทียมกับระดับสากล สามารถต่อยอดมูลค่าทางเศรษฐกิจไทย จนนำมาซึ่งการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีในสังคม และเพื่อการต่อยอดนวัตกรรมให้มีคุณภาพมากขึ้น บริษัทโชคนำชัยฯ จึงได้ทำความร่วมมือ กับ สวทช. เพื่อนำองค์ความรู้ที่สำคัญต่อการพัฒนาของบริษัท ไม่ว่าจะเป็นการนำระบบสารสนเทศสำหรับการบริหารทรัพยากรขององค์กร (ERP) เข้ามาประยุกต์ใช้งานภายในและทดแทนระบบสารสนเทศที่ใช้อยู่เดิม ก่อให้เกิดความสะดวก และเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานขององค์กรมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังต่อยอดองค์ความรู้ด้านการผลิตเรืออลูมิเนียมของ บริษัท สกุลฎ์ซี อินโนเวชั่น จํากัด อีกหนึ่งบริษัทย่อยของกลุ่มบริษัทโชคนำชัย นั่นก็คือ แนวทางในการออกแบบ เรือ SAKUN โดยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการคำนวณทางพลศาสตร์ของไหล หรือ CFD ช่วยในการจำลองสภาวะการใช้งานและศึกษาความสัมพันธ์ ตลอดจนผลกระทบจากการไหลของน้ำที่มีต่อเรือ ที่สำคัญ สวทช. ยังมีช่วยให้คำปรึกษา และช่วยในการวิเคราะห์ความแข็งแรงของโครงสร้างรถโดยสารตัวถังอลูมิเนียม ซึ่ง บริษัท สกุลฎ์ซีฯ ได้นำมาศึกษาและหาแนวทางลดน้ำหนักของโครงสร้างในอนาคต ซึ่งความรู้ตัวนี้จะช่วยในการลดค่าใช้จ่าย และลดอัตราการกินน้ำมัน สร้างประโยชน์ให้กับอุตสาหกรรมของประเทศได้โดยตรง

นายนำชัย กล่าวต่อว่า จากผลงานและความสำเร็จที่เกิดขึ้น จึงทำให้ปีนี้ บริษัทโชคนำชัยได้ร่วมมือกับ สวทช. อีกครั้ง ซึ่งการร่วมมือกันในครั้งนี้จะสร้างผลประโยชน์ให้กับวงการเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมไทยมากยิ่งขึ้น โดย สวทช. ได้มีการทำโครงการเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ เพื่อนำมาขยายขีดความสามารถในการผลิตนวัตกรรม และพัฒนากระบวนการผลิตโดยระบบ Automation ทำให้ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น รวมไปถึงร่วมกันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการออกแบบ ยานยนต์สมัยใหม่ โดยใช้โครงสร้างน้ำหนักเบา และขับเคลื่อนด้วยระบบไฟฟ้า ตอบรับยุค Thailand 4.0 อย่างเต็มตัว

อย่างไรก็ตาม ในความร่วมมือครั้งนี้ บริษัทสกุลฎ์ซีและ สวทช. ริเริ่มโครงการพัฒนาเรืออัจฉริยะ ในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น การใช้แอพพลิเคชั่นเก็บข้อมูลและวิเคราะห์การขับขี่ของผู้ขับเรือ สร้างความมั่นใจให้ผู้โดยสารมากยิ่งขึ้น การใช้ระบบ GPS และมอเตอร์ขับเคลื่อน ในการควบคุมตำแหน่งของเรือ ลดการเกิดอุบัติเหตุและการแล่นออกนอกเส้นทาง และใช้ระบบข้อมูล IOT เก็บข้อมูลเรือที่จำหน่ายออกไปเพื่อบริหารจัดการข้อมูลคู่ค้า และนำมาสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพื่อต่อยอดให้จุดแข็งการท่องเที่ยวของประเทศไทยให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และบริษัทโชคนำชัย กับ สวทช. ยังให้ความสำคัญกับความร่วมมือกันพัฒนาทักษะบุคลากรด้านการวิจัย ด้านการพัฒนา และด้านการบริหารองค์ความรู้ รวมไปถึงการแลกเปลี่ยนบุคลากรในองค์กร เพื่อสร้างบุคลากรที่มีคุณภาพ เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาเทคโนโลยีไทยต่อไป

 

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.


*